Art

ทำความรู้จักกับสีน้ำที่น่าใช้งาน

Published

on

การวาดรูปเกี่ยวกับงานศิลปะต่างๆ นั้น มีมากมายหลายรูปแบบให้เราได้ลองสร้างสรรกัน ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูปด้วยดินสอหรือปากกาหมึกที่มีโทนสีขาว-ดำ หรือจะเป็นการลงสีด้วยสีไม้ก็ดี สีน้ำก็แจ่ม ซึ่งหลายๆ ท่านคงไม่ทราบกันสินะครับว่า จริงๆ แล้วสีแบบต่างๆ มีมาตั้งแต่สมัยไหนกันแน่ วันนี้เราจะขอเป็นตัวแทนหมู่บ้านพาทุกๆ ท่านไปพบกับที่มาที่ไปของ “สีน้ำ” พร้อมกับทำความรู้จักลักษณะของเจ้าสีน้ำนี้กันดูสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรบ้างหล่ะก็…ไปชมกันดีกว่า

ประวัติความเป็นมาของสีน้ำ

กล่าวได้ว่า ต้นกำเนิดชนชาติจีนรู้จักใช้สื่อสีน้ำก่อนชาติใดในโลก ทั้งนี้เพราะว่าสะดวกในการนำไปใช้เขียนตัวหนังสือตามลีลาพู่กัน ( Calligraphy ) หลักฐานพบตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังและพัฒนาสูงสุดในสมัยราชวงศ์ ซูง ( Tang Dynasty A.D. 618 – 907 ,Sung Dynasty A.D. 960 – 1127 ) นอกจากนี้ ศิลปินจีนจึงนิยมใช้สื่อน้ำเขียนบรรยายธรรมชาติและวัฒนธรรมของจีนผ่านภาพวาดสีน้ำที่มีให้เห็นกันตั้งแต่สมัยโบราณอีกด้วย

ส่วนประกอบและคุณสมบัติของสีน้ำ

สีน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เนื้อที่บดแล้วอย่างละเอียด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบิค ซึ่งสกัดมาจากต้นอะคาเซีย ( Acacia tree ) กาวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ละลายน้ำง่ายและเกาะติดกระดาษแน่น ทั้งยังมีลักษณะโปร่งใส

สีน้ำมีลักษณะโปร่งใส เพราะสีน้ำมีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายน้ำบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีน้ำจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซ้ำกัน เพราะจะทำให้สีช้ำหรอหม่นได้ และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณ๊อาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้น้ำที่ใช้ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้

เนื้อเปียกชุ่ม เนื่องจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับน้ำและระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลืนกัน ดังนั้น เมื่อระบายไปแล้วลักษณะของสีที่แห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชุ่มของสี ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ และในบางกรณีที่ใช้สีน้ำระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สีแห้งไปเอง ก็จะเกิดคราบของสี (Sfumato ) ปรากฏให้เห็น ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งศิลปินสีน้ำท่านใดสามารถสร้างสรรค์ให้คราบนั้นน่าดูและมีความหมายขึ้น ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสีน้ำที่มีค่าควรชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

เป็นสีที่แห้งเร็ว เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสมกลีเซอรีนลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้

ข้อแตกต่างระหว่างสีน้ำกับสีไม้

“สีไม้” จะมีความทึบแสงมากกว่า “สีน้ำ” เป็นสีที่มีลักษณะแห้ง สามารถระบายซ้ำๆ รอยเดิมได้โดยที่สีไม่หม่น เนื้อสีเรียบ สามารถสร้างมิติของภาพได้ด้วยเทคนิคของการระบายของแต่ละคน มีเส้นที่คมชัดมากกว่า  ส่วนสีน้ำจะมีความโปร่งแสงมากกว่า จึงทำให้ดูสดใส สมจริง มีชีวิตชีวา เป็นสีที่ต้องใช้น้ำผสม แต่ก็สามารถแห้งได้ในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้สีไม้ยังสามารถพกพาได้สะดวก เพราะมีแค่สีไม้เพียงกล่องเดียว ก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้แล้ว

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “สีน้ำ” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

Trending

Exit mobile version