Art

4 เทคนิคการใช้สีน้ำ

Published

on

เคยประสบปัญหาเกี่ยวกับ “การลงสี” กันบ้างมั้ยครับ เพราะการที่จะมีแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนั้น หลักๆ แล้วต้องอาศัยที่ผู้สร้างงานศิลป์เป็นหลักนั้นเองครับ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “สีน้ำ” และ “4 เทคนิคการใช้สีน้ำ” สำหรับการสร้างสรรค์ผลงานกันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

คุณสมบัติของสีน้ำที่น่าสนใจ

●สีน้ำมีลักษณะโปร่งใส เพราะสีน้ำมีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายน้ำบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีน้ำจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซ้ำกัน เพราะจะทำให้สีช้ำหรอหม่นได้ และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณ๊อาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้น้ำที่ใช้ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้

●เป็นสีที่แห้งเร็ว เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสมกลีเซอรีนลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้

4 เทคนิคการใช้สีน้ำ

ผสมสีใช้แบบเปียกบนเปียก การระบายสีแบบเปียกบนเปียก หมายถึง การระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป การระบายแบบเปียกบนเปียกนี้ จะช่วยให้ท่านระบายสีติดบนกระดาษทุกส่วน เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยาก เนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระ การระบายแบบเปียกบนเปียก มีประโยชน์มากเมื่อจะระบายท้องฟ้า หรือผิววัตถุที่มีมัน เพราะจะให้ความรู้สึกกลมกลืนของสีเด่นชัด

ผสมสีใช้แบบเปียกบนแห้ง การระบายแบบเปียกบนแห้ง หมายถึง การระบายสีบนกระดาษที่ไม่ต้องลงน้ำก่อน คำว่าเปียก คือ พู่กันกับสี ส่วนแห้ง คือ แผ่นกระดาษ การระบายแบบเปียกบนแห้ง

ผสมสีใช้แบบแห้งบนแห้ง การระบายแบบแห้งบนแห้ง หมายถึง การระบายสีที่ใช้พู่กันจุ่มสีน้อย แล้วระบายอย่างรวดเร็วบนกระดาษ การระบายสีแบบนี้ ผู้ระบายมักจะบันทึกความรู้สึกของตนลงไปในขณะระบายด้วย การระบายแบบแห้งบนแห้ง มีประโยชน์ในการที่จะเน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือบริเวณที่เห็นว่า ควรทำให้เด่นได้ บางท่านก็ให้ความเห็นว่า ผลอันเกิดจากการระบายแห้งบนแห้ง คล้ายกับการเขียนชวเลข หรือการส่งโทรเลข กล่าวคือ มีข้อความสั้นๆ ชัดเจน กะทัดรัด และรวดเร็ว การระบายแบบแห้งบนแห้ง

ระบายบนระนาบรองรับ เทคนิคการระบายสีทั้ง 3ประเภทดังกล่าวไปแล้ว เป็นการระบายบนกระดาษวาดเขียน และกระดาษต่างชนิดกัน ไม่ได้ปรุงแต่งลักษณะผิวแต่อย่างใด สำหรับการระบายบนระราบรองรับที่เตรียมไว้ เป็นการปรุงแต่งลักษณะผิวกระดาษให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อผลที่แปลกและน่าสนใจกว่า นอกจากนี้ยัง ช่วยสนองความต้องการของผู้สนใจสีน้ำที่ต้องการถ่ายทอดรูปแบบวัตถุให้คล้ายกับสิ่งที่มองเห็นหรือต้องการสร้างสรรค์รูปแบบให้ต่างไปจากเดิม

ข้อแตกต่างระหว่างสีน้ำกับสีไม้

“สีไม้” จะมีความทึบแสงมากกว่า “สีน้ำ” เป็นสีที่มีลักษณะแห้ง สามารถระบายซ้ำๆ รอยเดิมได้โดยที่สีไม่หม่น เนื้อสีเรียบ สามารถสร้างมิติของภาพได้ด้วยเทคนิคของการระบายของแต่ละคน มีเส้นที่คมชัดมากกว่า  ส่วนสีน้ำจะมีความโปร่งแสงมากกว่า จึงทำให้ดูสดใส สมจริง มีชีวิตชีวา เป็นสีที่ต้องใช้น้ำผสม แต่ก็สามารถแห้งได้ในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้สีไม้ยังสามารถพกพาได้สะดวก

และนี้ก็คือ “4 เทคนิคการใช้สีน้ำ” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกันนะครับ

Trending

Exit mobile version