Art

Illusion art ภาพวาดศิลปะที่ชวนให้ผู้ชมงง

Published

on

งานศิลปะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์เรามาแต่ช้านาน มีมากมายหลายรูปแบบ หลายแขนงและหลายประเภทที่น่าสนใจ และหนึ่งในงานศิลป์ที่เลื่องชื่อและชวนให้ค้นหานั้นก็คือ “ภาพวาดแนว Illusion art” ที่จะชวนให้คุณได้ยืนมึนงงและสงสัยว่านี่มันคืองานศิลปะแนวไหน ภาพจะสื่ออะไร? และทำแบบนี้ได้อย่างไร? วันนี้เราจึงจะพาท่านผู้อ่านไปหาคำตอบกันครับ

Illusion art คืออะไร?

“Illusion Art หรือ ศิลปะลวงตา” คือ ทัศนศิลป์โดยเฉพาะจิตรกรรมในการสร้างภาพลวงตา ศิลปะลวงตาเป็นวิธีการเขียนที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความลวงตาและพื้นผิวของภาพ ระหว่างความเข้าใจและการมองเห็น ศิลปะลวงตาเป็นงานศิลปะแบบนามธรรมที่งานส่วนใหญ่เป็นสีขาวดำ เมื่อมองภาพผู้ชมมองอาจจะมีความรู้สึกว่ามีความเคลื่อนไหวในภาพ, มีภาพซ่อนอยู่ในภาพ, มีแสงวาบหรือความไหว, เป็นลายหรือมีความโก่งหรือบิดเบี้ยว

ตัวอย่างงาน illusion art ชื่อดังต่างประเทศ

ผลงาน “Shadows of Figures Walking on School Walls” โดย Anders Gjennestad

ภาพวาดเด็กวิ่งเล่นที่ลงสีเงาเพื่อสร้างภาพลวงตาเสมือนหนึ่งเด็กกำลังวิ่งเล่นบนผนังตึกต้านแรงโน้มถ่วงเป็นผลงานของ Anders Gjennestad  ศิลปินแนวสตรีทอาร์ตชาวนอร์เวย์ ที่วาดขึ้นบนกำแพงของโรงเรียนประถมโดยใช้เทคนิคการวาดรูปซ้อนกันหลายๆ ชั้นทำให้ภาพเกิดมิติและดูลวงตาโดยส่วนสำคัญอยู่ที่เงา สร้างความสมจริงเหมือนมีขึ้นวิ่งอยู่บนตึกชนิดที่คนดูอาจแยกไม่ออกว่าเป็นของจริงหรือถูกสร้างขึ้นครับ

ผลงาน “Take My Lightning But Don’t Steal My Thunder” โดย Alex Chinneck

เป็นผลงานศิลปะที่นำเอานวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมและจิตรกรรมมาสร้างสรรค์ผลงานอย่างลงตัว สิ่งปลูกสร้างที่ดูเหมือนภาพลวงตาของอาคารเก่าที่ปรักหักพัง และลอยคว้างอยู่กลางอากาศนี้ เป็นผลงานศิลปะที่ชื่อว่า Take My Lightning But Don’t Steal My Thunder ซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดย Alex Chinneck นักออกแบบชาวอังกฤษ เป็นผลงานที่มีความกว้าง 12 เมตร และ สูงถึง 10 เมตรที่สร้างให้ดูเหมือนว่าลอยอยู่ในอากาศ

ในประเทศไทยมีงานศิลปะเหล่านี้ให้เข้าชมบ้างไหม?

●Art in Paradise พิพิธภัณฑ์ภาพวาดลวงตา (Illusion Art Museum) แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอศิลปะภาพวาดลวงตา หรือ Illusion Art ศิลปะการวาดภาพที่อาศัยเทคนิค และความเชี่ยวชาญในการวาดภาพลงบนพื้นผิวเรียบให้กลายเป็น “ภาพ 3 มิติ” และให้ความรู้สึกที่เหมือนจริง (Realistic Art) นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ผู้ชมสามารถถ่ายภาพโดยสร้างสรรค์จินตนาการ ออกแบบท่าทาง และแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพวาดแต่ละภาพตามความชอบของตนเอง เสมือนว่าผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาด Art in Paradise (Chiang Mai) จึงเป็นสถานที่ที่ทำให้ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้สำหรับทุกคน และยังมอบความสุข สนุกสนานให้แก่ผู้มาเยือนอีกด้วย

ศิลปะกับเมื่อไทยในปัจุจุบันเป็นอย่างไร?

ปัญหาสำคัญของวงการศิลปะ คือ การที่รัฐไม่สนับสนุนและคนไทยกำลังซื้อไม่เพียงพอ หลายคนเห็นตรงกันว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้วงการศิลปะของไทยเดินไปข้างหน้าได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเป็นผลมาจากการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ

ไม่ว่างานศิลปะจะเป็นแบบไหนรูปแบบใดนั้น ล้วนแล้วแต่ศิลปินและความชอบของแต่ละบุคคล กำลังซื้อและความสนใจของทุกๆ ท่านนั้นเอง เราหวังว่าบทความนี้ช่วยให้ท่นผู้อ่านได้เข้าใจถึง Illusion Art ให้กับทุกๆ ท่านได้เข้าใจกันนะครับ ขอให้สนับสนุนวงการศิลปะไทยให้ก้าวไกลไปในเวทีต่างชาติกันนะครับ ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 อาจจะทำให้ท่านไปรับชมงานศิลปะได้ยาก รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับทุกคน

Trending

Exit mobile version